ภาพปรากฎการณ์ลา นีญ่า เริ่มเปลี่ยนอุณหภูมิของพื้นผิวมหาสมุทร ภาพนี้เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2016 (Image: NOAA)
Last updated: 13 May 2016 | 09:12
ศูนย์พยากรณ์อากาศระบุปรากฎการณ์ลา นีญ่ามาเร็วเริ่มมิถุนายนปีนี้จะทำให้อุณหภูมิของของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตเส้นศูนย์สูตรลดลง เกิดภาวะฝนตกแก้ปัญหาภัยแล้งโดยเฉพาะในเอเชียอาคเนย์โดยรวม
นายแอนดรูว์ ฟรีดแมน นักเขียนแห่งยาฮู้ นิวส์รายงานเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559 ว่าการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศแกว่งอย่างรวดเร็วจากปรากฎการณ์เอล นีโญ่ไปเป็นลา นีญ่า (Climate pendulum is swinging rapidly from El Niño to La Niña) โดยเริ่มว่า “ให้บอกลาเอล นีโญ่ และสวัสดีกับลา นีญ่า ได้ทันที” ซึ่งน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตเมืองร้อน (Tropical Pacific Ocean)ได้เย็นลงอย่างรวดเร็วหลังจากอุณหภูมิของน้ำในบริเวณนี้สูงขึ้นในช่วงปี 2015-2016
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคมศูนย์พยากรณ์อากาศสหรัฐ (Climate Prediction Center =CPC) ได้ออกคำแถลงเรื่องการจับตาลา นีญ่า (La Niña watch)ระบุว่าปรากฎการณ์ลา นีญ่าจะเกิดขึ้นถึง 75 % ในมหาสุมทรแปซิฟิกเขตร้อนการเกิดจะอยู่ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2016
ปรากฎการณ์ ลา นีญ่าจะทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกลดลง 0.5 องศาเซลเซียส (0.9 องศาฟาห์เรนไฮท์)จากอุณหภูมิระดับปกติ หรือกล่าวโดยสรุปน้ำในมหาสมุทรของโลกจะมีอุณหภูมิลดลง ตรงกันข้ามกับปรากฎการณ์เอล นีโญ่ ที่ทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น เกิดภาวะแห้งแล้ง
กราฟแสดงอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนสูงสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 และเริ่มลดระดับเดือนมีนาคม 2016 (Image : CPC )
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
เอมิลี เบคเคอร์ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์พยากรณ์อากาศ (CPC) ในรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐฯเขียนไว้ในบล้อคว่า “เป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงจากเอล นีโญ่ไปสู่ลา นีญ่า เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนนี้” สำหรับฤดูร้อนของสหรัฐเริ่มวันที่ 21 มิถุนายน 2016 และสิ้นสุด 3 เดือน โดยสหรัฐมี 4 ฤดู ฤดูร้อนเป็นช่วงปิดภาคเรียนของนักเรียนนักศึกษา
ปรากฎการณ์ลา นีญ่า มีอิทธิพลต่ออากาศของโลก หากเกิดขึ้นรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่อพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก ขณะเดียวกันก็จะเข้าไปกดดันปรากฎการณ์เกิดพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกฤดูร้อน
พร้อมกันนี้ศูนย์พยากรณ์อากาศสหรัฐร่วมกับสถาบันค้นคว้าบรรยากาศและสังคมนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย(Columbia University's International Research Institute for Climate and Society =IRI) กำหนดปรากฎการณ์ลา นีญ่าว่าจะทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติก 65 % ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน
ภาพแสดงอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่มีนาคมถึงพฤษภาคม 2016 (Image : CPC )
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลา นีญ่า ยังจะทำให้เกิดพายุทอร์เนโด้ทางตอนใต้ของสหรัฐ ทั้งนี้มีการศึกษาสถิติปี 2011 พบงว่าเกิดปรากฎการณ์ลา นีญ่า แบบปกติยังทำให้มีผู้เสียชีวิตจากพายุทอร์เนโด้ถึง 553 คนกระจายตามรัฐทางใต้ตอนกลางของสหรัฐ (south central states) อีกด้วย
สำนักบริหารแห่งชาติด้านมหาสมุทรและบรรยากาศ (the National Oceanic and Atmospheric Administration=NOAA)ระบุว่าปรากฎการณ์เอล นีโญ่ ทำให้อุณหภูมิร้อนของโลกเกิดติดต่อกัน 11 เดือนและเริ่มอ่อนตัวลงเมื่อเดือนมีนาคม 2016 จากนั้นเมื่อเกิดปรากฎการณ์ลา นีญ่า จะทำให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกลดลง
“จากเครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจจับปรากฎการณ์พบว่า เอล นีโญ่จะสิ้นสุดช่วงเริ่มต้นฤดูร้อนปีนี้ อุณหภูมิพื้นผิวของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกจะลดลงรวดเร็วหรือลด 0.5 องศาเซลเซียสจากปกติ ขณะนี้มหาสมุทรแปซิฟิกเขตฤดูร้อนอุณหภูมิเข้าสู่ภาวะปกติและบางแห่งก็ลดต่ำกว่าปกติทางตะวันออกของแปซิฟิก”เบคเคอร์เขียนไว้
เครื่องคอมพิวเตอร์ตรวจจับยังพบว่าน้ำด้านใต้ผิวพื้นของมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มเย็นลงกว่าปกติ “น้ำเย็นจำนวนมากเริ่มไหลเข้าสู่แปซิฟิกโดยเฉพาะในเขตเส้นศูนย์สูตร โดยมีความลึกลงไป 500 ฟุต” เบคเคอร์กล่าว
นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาได้เกิดปรากฎการณ์ลา นีญ่า 14 ครั้งขณะที่เกิดปรากฎการณ์เอล นีโญ่ 23 ครั้ง
เมื่อปรากฎการณ์เอล นิโญ่ สิ้นสุดลงสภาพของภูมิอากาศก็เข้าสู่ปกติทุกอย่างเป็นไปตามฤดูกาลของแต่ละภูมิภาคขอิงโลก ประเทศไทยก็จะได้รับฝนตามปกติเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนของปี 2016
หากเกิดปรากฎการณ์ลา นิญ่า ตามที่มีการคาดการณ์จะเกิดประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2016 ประเทศไทยและประเทศต่างๆจะได้รับฝนมากกว่าปกติจะช่วยลดความแห้งแล้งที่ประเทศไทยประสบติดต่อกันมายาวนาน
ปรากฎการณ์ ลา นีญ่า จะทำให้ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาและภาคเหนือของประเทศเม็กซิโกเกิดภาวะแห้งแล้งและอากาศอบอุ่น,ประเทศเปรู-โคลอมเบียและเอกวาดอร์อากาศแห้งแล้งและเย็น, ประเทศบราซิลเกิดภาวะฝนตก,ต่อมาทางตอนใต้ของจีน,ไทย,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,เวียดนามและออสเตรเลียเกิดภาวะฝนตกเปียก(Wet) ทำให้มีน้ำมาก
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
การเฝ้าระวังปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา ลงวันที่ 19 เม.ย.2559
ที่มา : www.thaitribune.org
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น