วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ปรากฏการณ์เมฆขอบตัด เห็นฟ้า 2 สีที่ภาคเหนือ


ด้าน ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ประธานชมรมคนรักมวลเมฆ ได้โพสต์รายละเอียดของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไว้บนเฟซบุ๊กของชมรมว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า เมฆขอบตรง (Straight-edged Cloud)โดยมีคำอธิบายดังนี้
1) ชื่อเรียก : มีหลายชื่อ เช่น straight-edged cloud (เมฆขอบตรง) หรือ cloud bank แต่ถ้ากล่าวถึงปรากฏการณ์ อาจเรียกว่า cutting phenomenon (CP)
2) กลไกการเกิด : อากาศเย็นและแห้ง (ฝั่งไม่มีเมฆ) ปะทะกับ อากาศอุ่นและชื้น (ฝั่งมีเมฆ) ทำให้เกิดรอยต่อระหว่างอากาศเย็น-อากาศอุ่น ตามขอบเมฆ (อาจจำง่ายๆ ว่า เมฆคือกลุ่มของหยดน้ำ ดังนั้น ฝั่งมีเมฆคือฝั่งที่อุ่นและชื้น)
3) ข้อสังเกต : ในประเทศไทย ปรากฏการณ์นี้เคยเกิดในช่วงฤดูหนาว เช่น 27 มกราคม 2554 เป็นต้น4) ระวัง! มีผู้อธิบายไม่ถูกต้องว่า "ปรากฏการณ์นี้เกิดจาก cold front (แนวปะทะอากาศเย็น) หรือ warm front (แนวปะทะอากาศอุ่น)" - คำอธิบายดังกล่าวนี้ แม้จะมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับกลไกในข้อ 2 แต่การเรียกว่า cold front และ warm front ไม่ถูกต้อง
เพราะแถบเขตร้อน (อย่างประเทศไทย) ไม่มีแนวปะทะอากาศ (front) ดังเช่นที่เกิดในแถบละติจูดกลาง (mid-latitude)
ขอบคุณ โพสต์ทูเดย์ : http://www.posttoday.com/local/north/406237
Share this article

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Distributed By Free Blogger Templates | Template Design by BTDesigner • Powered by Blogger
back to top