หากมองในแง่ข่าวสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ข่าวเหล่านี้อาจแยกเป็นข่าวในประเทศ - ต่างประเทศสุดแต่ว่าประเทศไหนรับไป แต่ธรรมชาติวิทยาไม่มีการแบ่งแยกประเทศ ทุกเรื่องที่เกิดคือที่และเรื่องเดียวกันหมด เพราะระบบนิเวศน์ธรรมชาติมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่เหมือนระบบย่อยที่มนุษย์สร้างกันเอง
ไฟป่าในบราซิล หรือป่าออสเตรเลีย ส่งผลธารน้ำแข็งในนิวซีแลนด์ หมอกพิษในอินโดนีเซีย ก็ย่อมเป็นเรื่องหมอกพิษเดียวกันในสิงคโปร์ แผ่นดินไหว หรือสึนามิที่หนึ่ง ย่อมส่งสัญญาณถึงอีกฝั่งหนึ่ง
ชาร์ล ดิกแมน นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์อธิบายกับ HuffPost ว่า ไฟป่าที่กำลังผลาญทวีปออสเตรเลีย วอดแล้วกว่า 10 ล้านเฮคเตอร์ เทียบขนาดพื้นที่เกือบเท่าประเทศอังกฤษ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 25 คน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายงานว่าสัตว์เกือบครึ่งล้านตายในกองเพลิง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา HuffPost รายงานว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นพันล้าน และ 800 ล้าน ในนิวเซาธ์เวลส์เพียงลำพัง”
ดิคแมน กล่าวเสริมว่า หากนับรวมค้างคาวกบและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แมลง ฯลฯ ที่ไม่เหลือซากให้พบ จำนวนสัตว์ป่าที่เสียชีวิต “ไม่ต้องสงสัยเลย” ว่าเกิน 1 พันล้าน ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งคือ สจ๊วต แบลนช์ Stuart Blanch ขอ งWorld Wildlife Fund Australia ซึ่งบอกกับ HuffPost ว่าจำนวนสัตว์ที่เสียชีวิต ประมาณ 1 พันล้าน ก็ยังต่ำไป สัตว์ป่าบางชนิดที่อยู่ในสถานะถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์ทั้งหมด อันเป็นผลมาจากไฟป่า
เช่นเดียวกับอีกประเทศ ข่าวโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง “เทพธิดาแห่งแยงซีเกียง” สูญพันธุ์แล้ว (Functionally Extinct) เหมือนชะตากรรมของฉลามปากเป็ดซึ่งมีฉายา “ราชาแห่งลุ่มน้ำแยงซีเกียง” สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏขึ้นบนโลกมานาน 15 ล้านปี สูญพันธุ์แล้วเช่นกัน ด้านผู้เชี่ยวชาญจีนได้แต่กล่าวอย่างหดหู่ว่า “มันเป็นความสนใจที่สายไปเสียแล้ว”
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ถึงขั้นออกมาชี้วิกฤตเลวร้ายอย่างแทบจะพูดได้ว่า “ไม่มีปลา” เหลืออยู่ในแยงซีเกียง
ไฟป่า ปลาสูญพันธุ์ ล้วนเกิดจากทั้งการแทรกแซงธรรมชาติด้วยมือมนุษย์ใต้คำว่าพัฒนาเทคโนโลยี จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นสะท้อนไปมา ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ไร้หมุดยึดแผ่นเปลือกโลก ทำแผ่นดินไหว แมกม่าใต้ดินไหลเคลื่อนรวมตัว ... และคงไม่เกินเลยไป หากมีนักวิทยาศาสตร์เริ่มออกมาพูดถึงเรื่องภูเขาไฟทั่วโลกจะระเบิด! เร็วขึ้น
"ภูเขาไฟฟูจิ" ที่นิ่งนาน แต่ก็ไม่ได้สงบ (Active volcano) แม้ฟูจิ อาจจะไม่ได้อยู่ในรายการติดตามฯ ที่มีความเสี่ยงในการระเบิดตามความเห็นของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง แต่กลุ่มนั้นก็ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าระเบิดเมื่อใด ยิ่งเมื่อจะมีการนำปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในรอบหลายปีนี้มาคำนวน จึงยังต้องพยายามศึกษาตามขีดจำกัดของความรู้ ติดตามและหาทางรับมือกับความน่าสะพรั่นพรึง
ผู้เชี่ยวชาญสำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความเสี่ยงของไฟป่าในออสเตรเลีย โดยการเพิ่มความยาวนานของฤดูไฟป่าจนผิดปกติ และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิง (พืชแห้ง) และลดปริมาณฝน ลดปริมาณน้ำที่มีอยู่เนื่องจากการระเหยที่สูงขึ้น”
นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะนำไปสู่การเกิดแผ่นดินไหวที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและภูเขาไฟระเบิด!!
นี่คือเหตุที่ปัญหาโลกร้อน กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาชะตากรรมร่วมของมนุษย์และทุกสิ่งในโลก
ตั้งแต่ปี 2518 โลกร้อนขึ้นอย่างน่าตกใจโดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 0.15-0.20 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ ในขณะที่ตัวเลขนี้ดูเหมือนจะค่อนข้างต่ำ แต่ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบอย่างไม่น่าเชื่อกับน้ำแข็งขั้วโลกซึ่งยังคงละลาย ตั้งแต่ปี 2522 ปริมาณน้ำแข็งในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือลดลง 80% อย่างน่าวิตก แม้นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าจะยังไม่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
แต่ตอนนี้นักวิจัยรับรู้ถึงวิกฤตน้ำแข็งที่ละลายเพิ่มขึ้นว่า อาจทำให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ "การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้นผิวเพิ่มมากขึ้น" ซึ่งปลดปล่อย "แรงดันมหาศาล" ที่สั่งสมมานานนับพันปี และทำให้ "เกิดแผ่นดินไหว" สิ่งที่ตามมาคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวมากๆ บ่อยๆ ทั่วโลก ก็ย่อมส่งผลให้แมกม่าใต้ดินเลื่อนไปรวมกันตามจุดต่างๆ ของ "ภูเขาไฟ" จนแรงดันมากพอย่อมต้องหาทางออกด้วยการปะทุ และระเบิดแรงกดดันมหาศาลออกมา
เว็บไซต์ Science Focus กล่าวว่า “แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ที่ประกอบเป็นแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และบดทับกันตามแนวรอยเลื่อน"
“แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็งสามารถช่วยรักษาโครงสร้างของภูเขาไฟและภูเขาต่างๆ ในพื้นที่ของแผ่นดินที่มีน้ำแข็งปกคลุมหนา เช่น กรีนแลนด์หรือแอนตาร์กติกา น้ำหนักมหาศาลกดทับของชั้นน้ำแข็งที่หนาไม่กี่พันเมตรอาจป้องกันการขยับของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้ แต่หากน้ำแข็งเหล่านี้ละลาย แผ่นเปลือกโลกย่อมอาจเลื่อนเคลื่อนอย่างสะเปะปะ และปล่อยพลังงานที่เคยถูกกักปิดไว้กระจายออกมารอบๆ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวมากขึ้น"
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงส่งผลต่อการปะทุของภูเขาไฟด้วยเหตุนี้
จีออชิโน โรแบร์ตี นักศึกษาปริญญาเอกจาก University of Clermont Auvergne กล่าวว่า “ให้จินตนาการน้ำแข็งเหมือนชั้นป้องกันบางอย่าง - เมื่อน้ำแข็งละลายไปภูเขาจะยุบตัวอย่างไร้การควบคุม หากเป็นภูเขาไฟ ก็มีปัญหาอื่นตามมาอีก"
“ภูเขาไฟเป็นระบบธรณีที่มีปัจจัยแรงดันและถ้าแรงกดจากน้ำแข็งคลายตัวเพราะการละลาย และดินถล่มจะมีปัญหาอื่นทางธรณีตามมาแน่นอน”
ศาสตราจารย์เดวิด รอธรี นักธรณีวิทยาที่ The Open University กล่าวว่า“งานวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากคุณเปลี่ยนแรงกดทับที่ส่งผลต่อเปลือกโลก ย่อมส่งผลกับภูเขา และ ภูเขาไฟ
“การปะทุของภูเขาไฟเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการที่ซับซ้อน ผมสงสัยว่าการปะทุหลายครั้งที่เกิดจากการละลายของน้ำแข็งอาจเกิดขึ้นได้ในที่สุดโดยอาศัยระยะเวลาที่นานพอ แต่งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะโลกร้อนอาจเพิ่มโอกาสของการปะทุของภูเขาไฟให้เกิดขึ้นเร็วขึ้น” ศาสตราจารย์เดวิด รอธรี
แนวโน้มว่าไฟป่าออสเตรเลียจะควบคุมได้เมื่อใดนั้นยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ออสเตรเลียกำลังเข้าสู่ช่วงสภาวะแห้งแล้งที่สุดของปี ก็คือช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถึงตอนนั้นวิกฤตไฟป่าอาจจะเลวร้ายกว่าเดิมอีก หากประเมินจากสภาพการตอนนี้ การจะควบคุมสภาวะไฟป่าได้ คงจะยังไม่ใช่ในช่วงก่อนเดือนกุมภาพันธ์
อากาศ ป่า น้ำ ใต้ดิน ล้วนเกี่ยวข้องกัน สถานการณ์ไฟป่าไม่ว่าจะเกิดที่ใด บราซิล หรือออสเตรเลีย จะส่งผลถึงสภาวะอากาศโลกให้เลวร้าย เป็นผลกระทบถึงทุกประเทศบนโลก เพราะไฟไม่เพียงเผาไหม้ต้นไม้และพุ่มไม้และปล่อยควันก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นอากาศ แต่ยังเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดินและการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็มีผลกระทบย้อนกลับมาต่อสภาพอากาศเช่นกัน
ในช่วงเวลาหลายทศวรรษ หลังจากเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ทั่วโลก การปล่อยก๊าซจากการย่อยสลายของไม้ที่ตายแล้วมักจะสูงกว่าการปล่อยโดยตรงจากไฟ
สก๊อต เดนนิ่ง นักวิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโดกล่าวว่า การศึกษาเฉพาะพื้นที่แสดงให้เห็นว่าผลการระบายความร้อนในป่าทางเหนือสามารถคงอยู่ได้นานหลายทศวรรษ ในทางตรงกันข้ามป่าฝนเขตร้อนท้องฟ้ามืดสามารถงอกใหม่ภายในไม่กี่ปี
เมื่อต้นไม้ใหม่งอกโตได้เร็ว จะสามารถเริ่มเก็บคาร์บอนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แต่งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า"ภาวะโลกร้อนกำลังยับยั้งไม่ให้เกิดการงอกใหม่ของป่า" อาทิ หลังเหตุการณ์ไฟป่าบริเวณแนวเทือกเขาโคโลราโดและในป่าของเซียร่าเนวาดา
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่าป่าไม้มีปริมาณน้อยกว่าที่จะนำซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากชั้นบรรยากาศ จากที่เคยประมาณว่าป่าไม้ช่วยดูดซับได้ถึงร้อยละ 30 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าระดับการเกิดไฟไหม้ทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นร้อนหรือเย็นลงโดยรวม ส่วนหนึ่งของเหตุผลที่พวกเขาไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเพราะนอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฟป่ายังผลิตอนุภาคอินทรีย์ระเหยอื่น ๆ อีกมากมายที่เรียกว่าละอองลอย รวมถึงสารเช่น คาร์บอนแบล็ค หรือเขม่าควันดำและก๊าซที่ก่อตัวเป็นโอโซน
การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นว่าไฟป่าปล่อยมลพิษอนุภาคละเอียดมากกว่าสามเท่าโดยหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบุว่ามลพิษนี้ก่อปัญหาสุขภาพและนักวิทยาศาสตร์ก็กำลังทำงานเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อสภาพอากาศ
อนุภาคและละอองเหล่านี้บางอย่างสามารถทำให้บรรยากาศสะท้อนกลับและปิดกั้นแสงแดดเหมือนกระจกมากยิ่งขึ้น และยังแผ่กระจายลอยตามลมจากไฟป่าไปได้ไกลจากแหล่งที่มา
ไฟป่าขยายพื้นที่มากกว่า 100,000 เอเคอร์ หรือที่เรียกว่าเป็น Megafires ล้วนเพิ่มการปล่อยและส่งมลพิษเหล่านี้ให้สูงขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้พบว่าไฟป่าในแคนาดาในปี 2560 ส่งผลให้เกิดละอองลอยในระดับสูงทั่วยุโรปสูงกว่าที่วัดหลังจากการปะทุของ ภูเขาไฟปินาตูโบ ฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2534
มาร์ก แพร์ริงตัน นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากศูนย์พยากรณ์อากาศในระดับกลางของยุโรปกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของไฟป่าระดับ megafires เพราะปัจจัยภาวะโลกร้อน สามารถเปลี่ยนวัฏจักรก๊าซคาร์บอน ส่งผลซ้ำเติมปัญหาก๊าซเรือนกระจก
ในบางปีนักวิทยาศาสตร์ได้ติดตาม เศษเล็กเศษน้อยของพืชที่ถูกไฟไหม้ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ เมื่อคลุมธารน้ำแข็งบนภูเขาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนหิมะและน้ำแข็งในแถบอาร์กติก
ตอนนี้ไฟป่าในออสเตรเลีย กระจายความร้อนส่งผลให้หิมะและธารน้ำแข็งในนิวซีแลนด์เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหลังจากถูกฝุ่นจากพุ่มไม้ของออสเตรเลีย โดยผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งกล่าวว่าเหตุการณ์นี้ทำให้ธารน้ำแข็งละลายเพิ่มขึ้นในฤดูกาลนี้ได้มากถึง 30%
เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว (2562) นักวิทยาศาสตร์จาก 153 ประเทศทั่วโลก จำนวนกว่า 11,000 คน ร่วมกันลงนามสนับสนุนรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกฉบับล่าสุด รวมทั้งออกแถลงการณ์ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ" (Climate emergency)
รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Bioscience อันเป็นที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศในครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลการวิจัยที่ยาวนานกว่า 40 ปี ซึ่งครอบคลุมตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
ดร. โทมัส นิวซัม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ของออสเตรเลีย หนึ่งในแกนนำของกลุ่มผู้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศบอกว่า "จากข้อมูลที่เรามีอยู่นั้น ชัดเจนว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ หากมนุษย์ไม่เร่งแก้ไข มีความเป็นไปได้สูงว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงกว่าที่เคยพบเจอกันมาอย่างมาก เช่นบางพื้นที่ของโลกอาจไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป" ดร. นิวซัมกล่าว
ภูเขาไฟฟูจิ จะระเบิดหรือไม่ เมื่อไหร่ไม่มีใครบอกได้ แต่ในความวิปริตต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติทั่วโลก ย่อมเกี่ยวพันและมีความเป็นไปได้ว่าจะเร่งนับถอยหลัง "ระเบิดเวลาของภูเขาไฟทั่วโลก ไม่เพียงแต่ฟูจิ"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น